วิสัยทัศน์

นโยบายการบริหารเทศบาลตำบลนาจอมเทียนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจอมเทียน

  1. นโยบายด้านสังคม เป็นนโยบายมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการสังคมให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานของคุณธรรมโดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
    1. ส่งเสริมให้มีการบริการสังคมขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน
    2. ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรค และรักษาสุขภาพด้วยตนเอง
    3. ส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนเล่นกีฬา ออกกำลังกายและการนันทนาการพร้อมทั้งจัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์การกีฬาอย่างเพียงพอ
    4. ส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนในท้องถิ่นมีคุณภาพได้รับการศึกษาและฝึกอบรมด้านต่างๆ จากแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
    5. ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์มีส่วนร่วมในกิจกรรม โครงการ และการพัฒนาด้านต่างๆกับเทศบาล
    6. ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขโดยสร้างให้ชุมชนเข็มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
    7. ส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ให้ได้รับความช่วยเหลือ โดยเน้นการสงเคราะห์ในระดับครอบครัว ตามความจำเป็นอย่างเป็นธรรมและ ทั่วถึง
    8. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง
    9. ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่นและมีจิตสำนึกในการรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  2. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรธรรมชาติ  โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
    1. ปรับปรุงพื้นที่ และสภาพแวดล้อมในเขตเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่
    2. ส่งเสริมให้มีการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษที่อาจเกิดขึ้น ทั้งปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ เสียงดัง ฝุ่นควัน และอากาศเป็นพิษ
    3. ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แก่ประชาชนทั่วไป หน่วยงาน และสถานประกอบการต่างๆ ให้มีจิตสำนึกและเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    4. ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลาน และส่งเสริมให้มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ
  3. นโยบายด้านเศรษฐกิจ  เป็นนโยบายที่ต้องการมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนา ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นมีความสมดุลยั่งยืน และเข้มแข็ง โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบาย ดังนี้
    1. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการรองรับความเจริญเติบโตของชุมชนและภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
    2. สนับสนุนกลไกตลาดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ภายใต้หลักคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรมในภาคเศรษฐกิจ
    3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยเน้นเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    4. ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ทรัพยากรธรรมชาติภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างรายได้ และดำรงชีวิตตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง
  4. นโยบายด้านการบริหาร   เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นให้การบริหารงานของเทศบาลสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน นโยบายจังหวัดชลบุรีและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบายดังนี้
    1. ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารงานเทศบาลให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
    2. มุ่งเน้นบริหารเชิงรุก เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชน
    3. มุ่งส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเกิดการเรียนรู้ พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติราชการที่ดี
    4. ให้การสนับสนุนเปิดโอกาสให้พนักงานได้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมแล้วนำมาใช้ใน การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
    5. มุ่งเน้นการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาล รวมทั้งปรับปรุงการให้บริการประชาชนโดยลดระยะเวลาและขั้นตอนการให้บริการประชาชน
    6. ใช้หลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและใช้หลักคุณธรรม จริยธรรมและความสมานฉันท์ในการบริหารงาน
    7. พัฒนาระบบการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว
  5. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นนโยบายที่มุ่งเน้นสร้างความสะดวกและความปลอดภัยในการบริการสาธารณะทั้งที่เป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูประการที่ประชาชนทุกคนในเขตเทศบาลพึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกันและเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ด้วย โดยมีแนวทางการดำเนินนโยบายดังนี้
    1. จัดให้มีบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง และพอเพียงกับความต้องการของประชาชน เช่น ระบบการคมนาคม ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและน้ำประปา เป็นต้น
    2. ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สถานที่ต่างๆในเขตเทศบาลให้เกิดความสวยงามทันสมัยและได้มาตรฐาน
    3. ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชลบุรี

  วิสัยทัศน์  เป็นเมืองท่าการส่งออกชั้นนำของโลก  ศูนย์กลางการท่องเที่ยวนานาชาติครบวงจร  ผู้นำการลงทุนด้านอุตสาหกรรม  เกษตรกรรมก้าวหน้า  พัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1

  •  เสริมสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของจังหวัดและของประเทศ

เป้าประสงค์

  • ส่งเสริมให้ท่านเรื่อแหลมฉบังเป็นเมืองท่าชั้นนำในลำดับที่ 16
  • ส่งเสริมเป็นศูนย์กลางการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน
  • เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวนานาชาติครบวงจรที่ได้คุณภาพมาตรฐาน
  • ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

กลยุทธ์หลัก

  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารจัดการให้สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัด
  2. ส่งเสริมให้ท่าเรืองแหลมฉบังสร้างภาคีพันธมิตรในการขนส่งแบบครบวงจร
  3. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพท่าเรือแหลมฉบัง
  4. พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน
  5. ส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน
  6. ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจีสติกส์ (Logistics)
  7. พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของรัฐวิสาหกิจชุมชน
  8. ส่งเสริมการสร้างเรือข่ายอุตสาหกรรมและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
  9. ส่งเสริมให้เป็นดินแดนหลากหลายของการท่องเที่ยวแบบครบวงจรและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดและภูมิภาค
  10. พัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
  11. พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการให้บริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวในด้านบุคลากรโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัย
  12. ดำเนินการด้านการตลาดและส่งเสริมกิจกรรมใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
  13. พัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรให้สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต
  14. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน
  15. ส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มมูลค่ามาตรฐานสินค้าโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและการนำผลผลิตการเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่กับการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาจังหวัด

เป้าประสงค์

  • พัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

กลยุทธ์หลัก

  1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ขจัดความยากจน ชุมชนเข้มแข็ง มีสังคมเอื้ออาทรและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  2. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณค่าความเป็นไทยของประชาชนในจังหวัด
  3. จัดระบบผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินและสภาพภูมิทัศน์ของเมือง
  4. การพัฒนาอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. การส่งเสริมใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  3

พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนแบบครบวงจรที่มีคุณภาพมาตรฐาน

เป้าประสงค์

  • ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ  มาตรฐานและผู้รับบริการพึงพอใจ

กลยุทธ์หลัก

  1. จัดตั้งศูนย์บริการร่วม (One Stop Service) และส่งเสริมให้มีศูนย์บริการร่วมทุกหน่วยงาน
  2. การพัฒนาระบบการให้บริการในการลดรอบระยะเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  4

 พื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ มีความมั่นคงบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของ  ประชาชนในพื้นที่  และพื้นที่ชุมชนมีความเข้มแข็งอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืน

กลยุทธ์หลัก

  1. กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพคน ชุมชนและพื้นที่ชายฝั่งทะเล และเกาะแก่งต่างๆ
  2. กลยุทธ์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ
  3. กลยุทธ์การบริหารจัดการ